Last updated: 17 ธ.ค. 2566 | 4610 จำนวนผู้เข้าชม |
ประภาคารกาญจนาภิเษก หรือท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง เขานางหงส์ เป็นจุดชมวิวแม่น้ำกระบุรีที่สวยงาม และยังสามารถมองเห็นจังหวัดเกาะสอง หรือ Victoria Point ซึ่งเป็นดินแดนใต้สุดแห่งประเทศเมียนมาร์ อีกด้วย
คำจารึกบนแผ่นหิน ณ ประภาคารกาญจนาภิเษก ศุลกากรระนอง
ประวัติปูชนียบุคคลของกรมศุลกากร
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ.2487 ทหารญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดสถานที่ราชการและสถานที่สำคัญต่่างๆ ของจังหวัดระนองเพื่อจัดตั้งฐานทัพ คนไทยกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันก่อตั้ง "ขบวนการเสรีไทย" เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศไทย นายโพ เดชผล นายด่านศุลกากรระนองสมัยนั้น ได้ร่วมขบวนการโดยเป็นหัวหน้าหน่วยเสรีไทยในจังหวัดระนอง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรจำนวนหนึ่งร่วมขบวนการ ได้แก่ นายสมจิตร พลจิตร นายเล็ก โต๊ะมีนา และนายซ้าย เพ็ชร์คุ้ม ทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือสนับสนุนด้านการข่าว รวบรวมอาสาสมัครเข้าร่วมขบวนการ โดยส่งอาสาสมัครไปฝึกและปกป้อง "เรือศุลกากร 12" มิให้ทหารญี่ปุ่นนำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ด่านศุลกากรระนอง ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเรือ 1 ลำ คือ "เรือศุลกากร 18"
ประวัติศาสตร์ดังกล่าว นับว่าเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรระนองในอดีต ได้มีส่วนร่วมในการปกป้องจังหวัดระนอง รวมถึงปกปักรักษาอธิปไตยของประเทศไทยไว้ได้ สมควรได้รับการเชิดชูเกียรติและเพื่อเป็นอนุสติแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรรุ่นหลังในการปฎิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ
นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล อธิบดีกรมศุลกากร ดำริให้บันทึก
นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ นายด่านศุลกากรระนอง ผู้บันทึก
"จากคำบอกเล่าของ พระราชรณังคมุนี เจ้าอาวาส วัดตะโปธาราม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง และรายงานผลการปฏิบัติงานของด่านศุลกากรระนองประจำปี พ.ศ.2545 สมัยนายด่าน มงคล แสงอินทร์"
นายบุญเลิศ โชควิวัฒน
ผู้ประสานงานโครงการท่าเทียบเรือศุลกากรระนอง
กันยายน 2550
ปัจจุบัน ที่นี่เป็นท่าเรือสำคัญในการทำเอกสารผ่านแดน เพื่อเข้าสู่จังหวัดเกาะสอง ประเทศเมียนมาร์
7 ม.ค. 2567
26 มิ.ย. 2567
29 ต.ค. 2565
29 ต.ค. 2565